เครื่องรับ-ส่งวิทยุในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้วิธีสังเคราะห์ความถี่ เรียกว่า“Synthesizer”
ซึ่งกรมไปรษณีย์โทรเลข ได้แบ่งประเภทเครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ของหน่วยงานราชการ
และรัฐวิสาหกิจ ไว้ 2 ประเภทคือ
1. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถี่ ประเภท1
หมายถึงเครื่องวิทยุคมนาคมที่ผู้ใช้งานสามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุ
2. เครื่องวิทยุคมนาคมแบบสังเคราะห์ความถประเภที่ 2 หมายถึง เครื่องวิทยุคมนาคมที่ผู้ใช้งาน
ไม่สามารถตั้งความถี่วิทยุได้เองจากภายนอกเครื่องวิทยุคมนาคม แต่สามารถตั้งความถี่วิทยุ
ด้วยเครื่อง PC โดยการโปรแกรมความถี่วิทยุที่ใช้งานเข้าไปยังหน่วยความจําของเครื่องนั้นๆ
*** กรมชลประทานได้รับอนุญาตให้ใช้วิทยุคมนาคมประเภท 2 เท่านั้น ***
การดูแลบํารุงรักษาเครื่องรับ-ส่งวิทยุสื่อสาร (ชนิดมือถือ)
1. การใช้เครื่องวิทยุสื่อสาร ชนิดมือถือไม่ควรอยู่ใต้สายไฟฟ้าแรงสูงต้นไม้ใหญ่สะพานเหล็ก
หรือสิ่งกําบังอื่นที่เป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารกัน
2. ตรวจดูสายอากาศ สายนําสัญญาณว่าต่อเรียบร้อยแน่นหนาหรือไม่
3. ขณะส่งออกอากาศไม่ควรเพิ่มหรือลดกําลังส่ง
4. ในการส่งสัญญาณ หรือพูดไม่ควรกดคีย์นาน เกิน 30 วินาที
5. แบตเตอรี่ถ้าเป็นแบตเตอรี่ใหม่ควรชาร์ตนาน 16 ชั่วโมง
6. แบตเตอรี่ควรใช้ให้หมดกระแสจึงนําไปชาร์ตใหม่
7.ถ้าแบตเตอรี่สกปรกให้ใช้ยางลบหมึกถูทําความสะอาดทั้งขั้วแบตและตัวเครื่อง
8. ความยาวของเสาอากาศต้องสัมพันธ์กับความถี่ที่ใช้งาน และกําลังส่งของเครื่องด้วย
9. เสาอากาศชนิดชัก ต้องชักสายอากาศให้สุดก่อนใช้งานทุกครั้ง
10. ควรทําความสะอาดวิทยุสื่อสารโดยการเป่าลม หรือใช้พู่กันปัดทําความสะอาดฝุ่นติดอยู่
11. ไม่ควรให้เครื่องโดนน้ํา หรือตากแดดนาน ๆ
12. อย่าบิดหรือหมุนเสาอากาศเล่น
13. ระวังอย่าให้เสาอากาศ หักงอ ทําให้ประสิทธิภาพในการรับ – ส่ง ลดด้อยลง
***เพิ่มเติมติดต่อเราได้ที่
086-3555810
02-731-0213-16 ต่อ 303
E-mail twoway_sales@hotmail.com
หรือดูสินค้าตัวอื่นๆและเช่าวิทยุสื่อสารได้ที่https://www.facebook.com/2wayram/
http://www.ctnt-connect.com/
http://www.2wayram.com/
086-3555810
02-731-0213-16 ต่อ 303
E-mail twoway_sales@hotmail.com
หรือดูสินค้าตัวอื่นๆและเช่าวิทยุสื่อสารได้ที่https://www.facebook.com/2wayram/
http://www.ctnt-connect.com/
http://www.2wayram.com/
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น